โรงพยาบาลบางระกำ + Bangrakam Hospital
055-371168 หรือ 055-371170


โรคเบาหวานชนิดที่ 2



โรคเบาหวานชนิดที่ 2
non-insulin dependent diabetes

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้อย่างเพียงพอ หรือร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินลดลง ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าสูงขึ้น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 มีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า “non-insulin dependent diabetes”


นานาสาระของเบาหวานชนิดที่ 2


พบอุบัติการณ์ของโรคเบาหวานประมาณ 2.6 ล้านคน และพบมากถึง 9 ใน 10 รายของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2


โรคนี้สามารถเป็นได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในช่วงอายุที่มากกว่า 40 ปีขึ้นไป คนเชื้อสาย อัฟฟริกัน-แคริบเบียนและคนเอเชียใต้ มีแนวโน้มจะเกิดเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าเชื้อชาติอื่น โดยจะเริ่มเป็นเบาหวานในอายุเฉลี่ยที่ 25 ปี


ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นว่า โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคที่เกิดขี้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการ หรือร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินที่ลดลง หน้าที่ของอินซูลินคือเป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยทั่วไปเมื่อเรารับประทานน้ำตาล กลูโคสซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารและเครื่องดื่มจะถูกย่อยและดูดซึมในลำไส้ หลังจากนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายต่อไป


ตับอ่อนซึ่งวางตัวอยู่หลังกระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อร่างกายตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินลดลง เราเรียกภาวะนี้ว่า “insulin resistance” ทำให้ต้องมีการสร้างฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดลง และในที่สุดเมื่อร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินทดแทนได้อีกต่อไป จะทำให้เกิดโรคเบาหวานตามมา


ชนิดของโรคเบาหวาน


มี 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ 1 และ 2


อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 2


โดยทั่วไปผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ และบ่อยคร้งตรวจพบจากการตรวจสุขภาพประจำปี


อาการที่ทำให้สงสัยว่าจะมีโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่
ปัสสาวะบ่อย
หิวน้ำบ่อย
น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
มีอาการอ่อนเพลียง่าย
การมองเห็นลดลง
เป็นเชื้อราที่บริเวณขาหนีบ
แผลหายช้า


 


ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานชนิดที่ 2


ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง


เกิดขึ้นได้เมื่อผู้ป่วยไม่ได้คุมระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีพอ และบ่อยครั้งในเวลาที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในกระแสเลือด โดยจะมีอาการ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย การมองเป็นลดลง อ่อนเพลียง่าย จะเห็นได้ว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เป็นอาการจำเพาะของโรคเบาหวานอย่างเดียว


ในกรณีที่ระดับน้ำตาลสูงมากๆ สามารถทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะ “hyperosmolar hyperglycaemic state” โดยผู้ป่วยจะหมดสติได้ ภาวะนี้ถื่อว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน และจำเป็นต้องไปโรงพยาบาลโดยทันที


สำหรับผลแทรกซ้อนในระยะยาวเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ การเกิดโรคไตวายเฉียบพลัน การมองเห็นลดลง เส้นประสาทส่วนปลายประสาทอักเสบ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต อัมพฤต


ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ


เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้ป่วยได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป หรือผู้ป่วยทานอาหารได้ลดลง
อาการที่พบบ่อยได้แก่ เหงื่อออกมากและใจสั่น เมื่อผู้ป่วยมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำควรจะต้องได้รับน้ำหวาน หรือลูกอมที่มีรสหวาน


สาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2


ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่
น้ำหนักที่มากเกินไป (overweight) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีไขมันสะสมรอบเอว
มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน
มีเชื้อชาติ african-caribean หรือ south-asian
อายุมากกว่า 40 ปี
มีโรคความดันโลหิตสูง โรคกล้าเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต
ขาดการออกกำลังกายโดยสม่ำเสมอ
มีปัญหาทางสุขภาพจิตอย่างรุนแรง
มีภาวะ polycystic ovary syndrome
มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes)
มีภาวะ impaired glucose tolerance (จากการทดสอบ oral glucose loading) หรือ impaired fasting glucose
การวินิฉัยโรคเบาหวานชนิดที่ 2


การตรวจปัสสาวะ


ตรวจ fasting blood glucose โดยผู้ตรวจจำเป็นต้องงดน้ำงดอาหาร เราสามารถตรวจดูระดับน้ำตาลย้อนหลังโดยอาศัยการตรวจ HbA1C ทราบ


การทำ glucose tolerance test จะทำการทดสอบนี้ในกรณีที่ผู้ทดสอบมีระดับน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ก้ำกึ่ง โดยการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหวานและทำการวัดระดับน้ำตาลในเลือดในระยะเวลาต่างๆกัน


การรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2


ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถทำให้โรคเบาหวานหายขาดได้ แต่ก็สามารถควบคุมโรคได้ด้วย การรักษา 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่


Self-help (การดูแลตนเอง)


ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อที่จะได้ควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติดังต่อไปนี้
ทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ 3 มื้อต่อวัน
ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ และอย่างน้อย 10 นาทีต่อครั้ง
ไม่ดื่มเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์มากเกินไป
งดการสูบบุหรี่ เนื่องจาการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
การรักษาด้วยยาลดระดับน้ำตาลในเลือด


แพทย์จะเริ่มการรักษาทางยาเมื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่เพียงพอในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ยกตัวอย่างยาที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้แก่
Metformin ออกฤทธิ์ที่ตับ โดยลดการปลดปล่อยน้ำตาลออกมาในกระแสเลือด และออกฤทธิ์ที่กล้ามเนื้อ โดยเพิ่มการใช้น้ำตาลภายในเซลล์
Gliclazide, glipizide, glimepiride และ tolbutamide ช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนมีการสร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น
Repaglinide และ nateglinide ช่วยกระตุ้นให้ตับอ่อนมีการสร้างอินซูลินที่เพิ่มขึ้น โดยมีการออกฤทธิ์ที่ไวกว่าและระยะเวลาการออกฤทธิ์ที่สั้นกว่า
Acarbose ออกฤทธิ์โดยการชะลอการดูดซึมของสารคาร์โบไฮเดรต
Pioglitazone ช่วยลดการดื้อต่อยาอินซูลิน
Sitagliptin, saxagliptin และ vidagliptin ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างอินซูลินเพิ่มขึ้น
การฉีดยาอินซูลิน


โดยทั่วไปแพทย์จะเริ่มฉีดยาอินซูลิน เมื่อไม่สามารถควบคุมระดับของน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือด


วิธีนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการฉีดยาอินซูลินด้วยตนเอง การบริหารทำได้โดยการใช้บรรจุยาอินซูลินเข้ากับด้ามปากกา และใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก ทำการฉีดเข้าที่ชั้นใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยจำเป็นต้องมีการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง โดยการเจาะเลือดจากปลายนิ้วผู้ป่วย ทำการอ่านผลโดยเครื่องอ่านผล


การตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด


ผู้ป่วยควรที่จะได้รับการตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C) อย่างน้อย 2 ครั้งต่อปี ซึ่งจะแสดงถึงระดับน้ำตาลย้อนหลังกลับไปในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา