โรงพยาบาลบางระกำ + Bangrakam Hospital
055-371168 หรือ 055-371170


โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน (Heart attacks)


โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน (Heart attacks)  โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน (Heart attacks)  รค heart attack หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดโคโรนารีอุดตัน เกิดขึ้นเมื่อมีการอุดตันหลอด เลือดโคโรนารี ซึ่งนำเลือดไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ  ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและอาจถึงแก่ชีวิต
นานาสาระของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Heart attacks)
ในประเทศอังกฤษมีผู้ป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดใหม่ประมาณ 111,000 ต่อปี โดยพบบ่อยในผู้สูงอายุและในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ปัจจัยเสี่ยงของโรคได้แก่การสูบบุหรี่ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูงเบาหวานความดันโลหิตสูงมีประวัติโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในครอบครัวขาดการออกกำลังกายภาวะโรคอ้วนดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากเกินไป


วิดีโอ "โรคหลอดเลืิอดหัวใจอุดตัน เกิดขึ้นได้อย่างไร?"


 

อาการของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดผู้ป่วยจะมีอาการปวดที่บริเวณกลางหน้าอก โดยจะรู้สึกแน่นแน่น คล้ายหัวใจถูกบีบรัด หรือมีอาการจุกแน่นท้องคล้ายอาหารไม่ย่อย ในบางครั้งอาจมีอาการมากจนหมดสติได้ อาการอื่นๆได้แก่อาการปวดซึ่งร้าวไปที่ กราม คอ แขน หลัง หรือลงไปที่ลิ้นปี่เหงื่อออก ใจสั่นเวียนศีรษะคลื่นไส้อาเจียนโดยในผู้ป่วยสูงอายุและเบาหวานอาจจะมีอาการดังกล่าวไม่ชัดเจน
โรคนี้ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉิน ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ในระยะ 2-3 วันแรกหลังกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง หัวใจอาจเต้นผิดจังหวะ หรือเกิดการเจ็บหน้าอกได้ใหม่ นอกจากนี้กล้ามเนื้อหัวใจที่ตายยังทำให้ความสามารถในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายทำได้ลดลง ทำให้อวัยวะต่างๆได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ เรียกภาวะดังกล่าวว่า โรคหัวใจวาย (heart failure) ยิ่งบริเวณที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดมาก โอกาสในการเกิดโรคหัวใจวายยิ่งเพิ่มขึ้น
บางคร้งผู้ป่วยอาจเกิดภาวะซึมเศร้าหลังเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เนื่องจากความกังวลจากตัวโรคและการฟื้นตัวจากโรค ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆที่พบไม่บ่อย ได้แก่ การเกิดการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงปอด กล้ามเนื้อหัวใจทะลุ เยื้อหุ้มหัวใจอักเสบ การโป่งพองของกล้ามเนื้อหัวใจ (aneurysm)
สาเหตุ 
สาเหตุหลักได้แก่ ภาวะ atherosclerosis ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีการสะสมของไขมันใต้ผนังหลอดเลือดโคโรนารีจนทำให้หลอดเลือดมีขนาดเล็กลง เมื่อผนังของหลอดเลือดโคโรนารีเกิดการฉีกขาด ทำให้เกิดก้อนเลือดอุดตันหลอดเลือดโคโรนารีทั้งหมด และเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตามมา
การวินิจฉัยโรค
สามารถทำได้โดยอาศัยการการตรวจร่างกายการตรวจเลือดซึ่งจะทำให้ทราบว่ากล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงมากเท่าไรการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจการสวนหลอดเลือดโคโรนารี (coronary angiogram) ซึ่งทำโดยการฉีดสีเข้าไปในหลอดเลือดโคโรนารีการตรวจ echocardiogramการรักษา
ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาภายในโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด ควรได้รับ  aspirin (ถ้าไม่มีข้อห้าม)  เนื่องจาก aspirin ช่วยลดการอุดตันของหลอดเลือดโคโรนารีได้เป็นอย่างดี ควรได้รับ oxygen และยาแก้ปวด  ในบางครั้งผู้ป่วยอาจเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เรียกว่า ventricular fibrillation และต้องได้รับการ ช้อคไฟฟ้า (cardiac defibrillation)
การรักษาภายในโรงพยาบาล   
การเปิดหลอดเลือดโคโรนารี มีการรักษาหลัก 2 วิธีได้แก่
- การใช้ยาสลายลิ่มเลือด (thrombolysis) ยาสลายลิ่มเลือดจะไปสลายลิ่มเลือดที่อุดตันหลอดเลือดโคโรนารี ทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามยาสลายลิ่มเลือดทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกได้ง่าย ทำให้ไม่สามารถให้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออกง่าย เช่นในผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดใหม่ๆ
- การสวนหลอดเลือดหัวใจ (coronary angioplasty) โดยใช้บอลลูน ไปเปิดหลอดเลือดโคโรนารี ทำให้เลือดสามารถไปเลี้ยงเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจได้ตามปกติ ในบางครั้งแพทย์อาจใช้ขดลวด ที่เรียกว่า stent ไปถ่างหลอดเลือดโคโรนารีไว้ภายหลังการทำบอลลูน
การรักษาภายหลังกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ภายหลังการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยจำเป็นต้องทานยาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ยาที่ช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำได้แก่ ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น ยาแอสไพริน หรือ clopidogrel ยาลดไขมันกลุ่ม statin ยากลุ่ม angiotensin-converting enzyme inhibitors และยากลุ่ม beta-blocker และในบางครั้งอาจได้รับยากลุ่ม fish oil
นอกจากการใช้ยาเพื่อการป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การทำกายภาพฟื้นฟูหัวใจที่เรียกว่า cardiac rehabilitation program 11-16 ครั้งต่อเนื่องกัน สามารถทำให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น การป้องกัน
เราสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้โดยไม่สูบบุหรี่ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้โรคอ้วนออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที และอย่างน้อย 5 วันต่อสัปดาห์ทานอาหารที่มี ไขมันต่ำ และมี fiber สูงไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มากเกินไป (ไม่เกิน 4 ยูนิตต่อวัน และ 3 ยูนิตต่อวัน ในผู้ชายและผู้หญิง ตามลำดับ) ขอบคุณบทความดีๆจาก : http://www.bupa.co.th