จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า insulin-dependent diabetes นานาสาระของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในประเทศสหราชอาณาจักร พบอุบัติการณ์ของเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 รวมกันประมาณ 2.6 ล้านคน โดยมีเพียง 1 ใน 10 ที่จะเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 โรคนี้สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุ แต่มักเกิดในคนที่อายุน้อยกว่า 40 ปี ดังที่ได้กล่าวในตอนต้นว่า โรคเบาหวานชนิดที่ 1 เป็นโรคที่เกิดขี้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้อีกต่อไป หน้าที่ของอินซูลินคือเป็นฮอร์โมนหลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยทั่วไปเมื่อเรารับประทานน้ำตาล กลูโคสซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารและเครื่องดื่มจะถูกย่อยและดูดซึมในลำไส้ หลังจากนั้นจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานให้กับร่างกายต่อไป ตับอ่อนซึ่งวางตัวอยู่หลังกระเพาะอาหาร เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อฮอร์โมนอินซูลินมีระดับลดลงจะทำให้ระดับน้ำตาลมีค่าที่สูงขึ้น และทำให้เกิดโรคเบาหวานตามมา ชนิดของเบาหวาน สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดที่ 1 และ 2 โดยพบเบาหวานชนิดที่ 1 เพียง 5-10 รายในผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด อาการของเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย ภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ได้แก่ ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป (hyperglycemia) หรือ ต่ำเกินไป (hypoglycemia) ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) สามารถเกิดได้เมื่อผู้ป่วยมีภาวะเครียด เจ็บป่วย ขาดยา insulin หรือขนาดยา insulin ที่ใช้อยู่ไม่เพียงพอ เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นจะส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการ หิวน้ำบ่อย เหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการคล้ายจะเป็นลม เหงื่อออกมาก สับสน ใจสั่น การรักษาในเบื้องต้นคือการให้ทานสารที่มีรสหวานเช่น ลูกอม น้ำอัดลม หรือขนมปัง ถ้ารักษาไม่ทันท่วงทีสามารถทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตได้ สาเหตุของเบาหวานชนิดที่ 1 เบาหวานชนิดที่ 1 เกิด เมื่อเซลล์ตับอ่อนชนิด beta (beta cell) ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนอินซูลิน ถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยยังไม่ทราบชัดเจนว่าเหตุใดระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงสร้างภูมิต้านทานมาทำลายเซลล์ตับอ่อนของตัวเอง การวินิจฉัยเบาหวานชนิดที่ 1 เริ่มจากแพทย์ทำการซักประวัติ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ เมื่อตรวจพบภาวะเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยควรจะไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่อไป การรักษา ถึงแม้ว่ายังไม่มีการรักษาใดที่ทำให้ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 หายขาดได้ แต่เราสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฐ์ปกติได้โดยการ ปรับเปลียนพฤติกรรมการทานอาหาร ออกกำลังกาย และการใช้ยา การใช้ยา เราใช้ยา insulin เป็นยาหลักในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เราสามารถบริหารยา อินซูลิน ได้ 2 ทาง ได้แก่ การควบคุมระดับน้ำตาลสามารถทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ดังนี้ การตรวจติดตามระดับน้ำตาล ผู้ป่วยสามารถตรวจติดตามระดับน้ำตาลของตนเองได้โดยใช้เครื่องตรวจขนาดเล็ก ที่เรียกว่า home test kit โดยใช้เข็มขนาดเล็กเจาะเลือดจากปลายนิ้ว หยดเลือดลงบนแผ่นตรวจและใส่แผ่นตรวจเข้าไปในเครื่องอ่าน ระดับน้ำตาลที่เหมาะสม นอกจากการตรวจติดตามระดับน้ำตาล ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจหาระดับน้ำตาลสะสม ( HbA1C) อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ระดับน้ำตาลสะสมนี้จะบ่งบอกถึงระดับน้ำตาลในช่วงระยะเวลาย้อนหลังไป 2-3 เดือน
ขอบคุณบทความดีๆจาก : http://www.bupa.co.th |